เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
[773] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ 3 ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิย-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 3 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3
ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนุปาทินน-
อนุปาทานิยปัญญา (6)
[774] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกและวิจารชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา
ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา ปัญญา
ที่วิปปยุตจากวิตกและวิจารชื่อว่า อวิตักกอวิจารปัญญา (7)
[775] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขา-
สหคตปัญญา (8)
[776] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 3 ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
ในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า เนวาจยคามินาปจยคามินี-
ปัญญา (9)
[777] ปัญญาในมรรค 4 และในผล 3 ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน
อรหัตตผลอันเป็นผลเบื้องบนชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็น
กุศลในภูมิ 3 ที่เป็นวิบากในภูมิ 3 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า
เนวเสกขนาเสกขปัญญา (10)
[778] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจรชื่อ
ว่า ปริตตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นรูปาวจรและ
อรูปาวจรชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อัปปมาณ-
ปัญญา (11)
[779] บรรดาปัญญาเหล่านั้น ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา (12)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :506 }